สำนักงานบัญชี.COM » งบดุล มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Click to rate this post!
[Total: 1251 Average: 5]

ประเภทของงบดุล สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. งบดุลแบบบัญชี งบดุลแบบบัญชีจะใช้ฟอร์มที่มีลักษณะคล้ายตัว T แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือจะแสดงรายการของสินทรัพย์ ส่วนด้านขวามือจะแสดงรายการของหนี้สินและส่วนของเจ้าของขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบบัญชี มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด ประกอบด้วย บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล” บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2 ทางด้านซ้ายมือให้เขียนรายละเอียดของสินทรัพย์แสดงรายการต่างๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่
ขั้นที่ 3 ทางด้านขวามือให้เขียนรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของที่กิจการมีอยู่ ขั้นที่ 4 รวมยอดทั้ง 2 ด้านให้เท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน
2. งบดุลแบบรายงาน ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบรายงาน มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด คือ บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล” บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2 คือตอนบน ให้เขียนคำว่า “สินทรัพย์” และเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่แล้วรวมยอดทั้งหมดของสินทรัพย์
ขั้นที่ 3 เขียนคำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” ต่อจากสินทรัพย์ให้แสดงรายการที่เป็นหนี้สินก่อนและตามด้วยรายการที่เป็นส่วนของเจ้าของ แล้วรวมยอดทั้งหมดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของซึ่งจะมียอดเท่ากับสินทรัพย์ ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบดุล ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ได้กำหนดไว้ในย่อหน้า 35 โดยงบดุลนั้นต้องมีรายการที่แสดงจำนวนเงินทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
2. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
4. สินทรัพย์ทางการเงิน (ไม่รวมจำนวนเงินที่แสดงในข้อ 1 2 และ 3)
5. เงินลงทุนซึ่งบันทึกตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น
6. สินทรัพย์ชีวภาพ
7. สินค้าคงเหลือ
8. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น
9. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
10. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
11. ประมาณการหนี้สิน
12. หนี้สินทางการเงิน (ไม่รวมจำนวนเงินในข้อ 10 และ 11)
13. หนี้สินและสินทรัพย์ภาษีเงินได้สำหรับงวดปัจจุบันตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่อง ภาษีเงินได้
14. หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (เมื่อมีการประกาศใช้)
15. ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่แสดงในส่วนของเจ้าของ
16. ทุนที่ออกจำหน่าย และสำรองต่างๆ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.